Saturday, December 11, 2021

คนที่บวชพระแล้วสึก ภาษาเขมรสุรินทร์เรียกว่าอะไร?


คนที่บวชพระแล้วสึก ภาษาเขมรสุรินทร์เรียกว่าอะไร

การบวชพระหรือบวชเณรเป็นประเพณีที่เกิดจากพระพุทธศาสนา ซึ่งผู้ชายที่นับถือพระพุทธศาสนา ถ้ามีโอกาสและเวลาก็จะบวชพระหรือบวชเณร แล้วแต่ความสะดวกหรือมีเวลาเช่น บวช 3 วัน บวช 7 วัน หรือบวช 15 วัน บางทีก็บวชเข้าพรรษาในช่วงที่พระเข้าพรรษา 3 เดือน ซึ่งในกรณีที่ยังเป็นเด็กอายุยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ก็จะบรรพชาเป็นสามเณรหรือที่เรียกกันแบบง่ายในภาษาไทยว่า บวชเณร
แต่ถ้าชายใดเมืออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ก็จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุ หรือเราเรียกว่า บวชพระ
คนเขมรสุรินทร์มีความเชื่อว่า ผู้ชายที่นับถือพระพุทธศาสนาทุกคน ต้องได้บวชสักครั้งในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการบวชพระหรือบวชเณร เพราะมีความเชื่อว่าการบวชเป็นการตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ ดังน้ันผู้ชายควรได้บวช ก่อนแต่งงาน
คนที่บวชแล้วสึกออกมาเป็นฆราวาส ในภาษาเขมรสุรินทร์ มีคำที่ใช้เรียกคนที่สึกออกมาดังนี้
1. บวชเณร แล้วสึกออกมา
คนที่บวชเณรแล้วสึกมาเป็นฆราวาส ไม่ว่าจะบวชนานแค่ไหน คนเฒ่าคนแก่ หรือคนที่มีอายุมากกว่าคนที่บวชจะเรียกว่า "อาจีง" แล้วตามด้วยชื่อคนคนนั้น คนที่มีอายุน้อยกว่าก็จะเรียกตามปกติ ตามศักดิ์ของคนคนนั้นที่เคยเรียกเมือก่อนบวช เหมือนเดิม เช่น พี่ อา ลุง น้า
2.บวชพระ แล้วสึกออกมา
คนที่บวชพระแล้วสึกมาเป็นฆราวาส ไม่ว่าจะบวชนานแค่ไหน คนเฒ่าคนแก่ หรือคนที่มีอายุมากกว่าคนที่บวชจะเรียกว่า
2.1 เรียกว่า " ปแดง" แล้วตามด้วยชื่อ ในกรณีนี้เป็นคนทั่วไปที่จะเรียกคนที่สึกออกมา
2.2 เรียกว่า "เนียะ" แล้วตามด้วยชื่อ ในกรณีนี้จะเป็นญาติผู้ใหญ่ของคนที่สึกออกมาเรียก เช่น แม่ พ่อ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรืออาจจะเรียก "ปแดง" เหมือนคนทั่วไปก็ได้ แต่เท่าที่เคยได้เห็นส่วนมากแล้วพ่อแม่ จะเรียกลูกของตัวเองที่สึกออกมาว่า "เนียะ"
2.3 เรียกว่า "ลบอง" อ่านว่า ละ-บอง แล้วตามด้วยชื่อ ซึ่งในกรณีนี้จะเป็นน้องของคนที่สึกออกมาใช้เรียก พี่ ส่วนคนที่มีอายุน้อยกว่าที่ไม่ใช่น้องหรือไม่ได้นับถือคนที่สึกออกมาว่าพี่ ก็จะเรียกตามปกติ ตามศักดิ์ที่เคยเรียกก่อนบวช
ซึ่งการเรียกแบบนี้จะเป็นการให้เกียรติว่าคนนี้เคยได้บวชเรียนมาแล้ว
ถ้าคนที่ยังไม่ได้บวช จะเรียกว่า "อา" ตามด้วยชื่อ ซึ่งอานี้แปลว่า ไอ้ หรือบักในภาษาอีสาน
ทีนี้เราก็จะได้เรียกได้ถูกต้อง และคงหายสงสัยสำหรับคนที่เคยได้ยินคำเหล่านี้
ขอบคุณที่อ่านและติดตาม
แอดมิน

Wednesday, October 6, 2021

รวมภาษาเขมรสุรินทร์ แบ่งออกเป็นหมวดหมู่

 องค์ประกอบของร่างกาย

เชียม – เลือด

ยื๊อ – เหงื่อ

กะแอลอั้ยจ – ขี้ไคล

สั้ยจ – เนื้อ

ซะแบก – ผิวหนัง

จะเอิง – กระดูก

มะเม๊ – ขน

เซาะ – ผม

ตระซัย – เส้น,เอ็น

กลีน – ลูกหนู

องค์ประกอบของอวัยวะภายใน

ตระซัยเชียม – เส้นเลือด

ปั๊วะวีน – ลำไส้เล็ก

กำปวงปั๊วะทม – ลำใส้ใหญ่

โปล – ปอด

ทะเลอม – ตับ

กะบาลเจิด – หัวใจ

ประมัด – ดี,ถุงน้ำดี

ทะเลอมปั๊วะ – กระเพาะอาหาร

ตระซัยปั๊วะ – เส้นเอ็นท้อง

ปร๊วงตังเฮิม – หลอดลม

ตระซัยพะเนาะ – ใส้ติ่ง

อั้ยจ – อุจจาระ

ตึกโนม – น้ำปัสสาวะ

กำปวงตึกโนม – ท่อปัสสาวะ

ทะเลอมปั๊วะตึกโนม- กระเพาะปัสสาวะ


องค์ประกอบของเรือนร่าง

กะบาล – หัว,ศีรษะ

ตะซัยเซาะ – เส้นผม

เจิงเซาะ – ตีนผม

จ๊องเซาะ – ปลายผม

ปังเฮย – กระหม่อม,

กึงเว็ล – ขวัญ

กึนจ๊อบประเฮาะ – ท้ายทอย

อันเจิม – หน้าผาก

คะน็อง – หลัง

จะเอิง คะน็อง – กระดูกสันหลัง

จะจีก – หู

ซะเลอะจะจีก – ใบหู

ปร๊วงจะจีก – รูหู

เดาะจะจีก – ติ่งหู

ตะบ๊อกพะเนก – คิ้ว

มะเม๊ พะเนก – ขนตา

พะเนก – ตา

โกนพะเนก – ลูกตา

กันตูยพะเนก – หางตา

ตะเปือล – แก้ม

จรึเม๊าะ – จมูก

ปร๊วง จรึเมาะ – รูจมูก

มะเม๊ จรึเมาะ – ขนจมูก

มะเม๊เมือด – หนวด

เมื๊อด – ปาก

ปร๊วงเมื๊อด – โพรงปาก

ประโบลเมื๊อด – ริมฝีปาก

นาด – ลิ้น

ทะเม็ง – ฟัน

ทะเม็งเซิจ – ฟันหน้า

ทะเม็งเลอ – ฟันบน

ทะเม็งกรอม – ฟันล่าง

ตังเกียม – กราม

นาดเมือน – ลิ้นไก่

จ๊องทัมเฮอม – ลิ่นปี่

จังกา – คาง

มะเม๊จังกา,ออมเกียง- เครา

กอ – คอ

อัมปวงกอ – ลำคอ

มะเม๊กันจิล – ขนหลังต้นคอ

ตระซัยกอ – เส้นเอ็นคอ

ก็อลกอ – ต้นคอ

ปั๊วะกอ – ลูกกระเดือก

ซมา – ไหล่

กะบาลซมา – หัวไหล่

กลีก – รักแร้

มะเม๊ กลีก – ขนรักแร้

เดอมตรูง – หน้าอก

มะเม๊ตรูง – ขนหน้าอก

จะเอิงจะนีร – กระดูกซี่โครง

เด๊าะ – นม

กะบาลเด๊าะ,จ๊องเดาะ- หัวนม

ตรูงเดาะ,ก๊อลเดาะ – เต้านม

จ็องตรูง – อกไก่

กลาม – กล้าม

ซอก – ข้อศอก

ได – แขน หรือ มือ

กอได – ต้นแขน

คะนองได – หลังมือ

บาดได – ฝ่ามือ

กะลาได – ลายมือ

พนะได – ข้อมือ

มะเรียมได – นิ้วมือ

เมได – หัวแม่มือ,นิ้วโป้ง

จังอ็อลได – นิ้วชี้

มะเรียมไดกะนาล – นิ้วกลาง

มะเรียมไดเนียง – นิ้วนาง

โกนได – นิ้วก้อย

กระยอได – ข้อนิ้วมือด้านหลัง

พนะ มะเรียมได – ลำปล้องนิ้วมือ

ทะนัง ได – ข้อต่อมือ

กระจ๊อ – เล็บ

กระจ๊อได – เล็บมือ

ได ชเวง – มือซ้าย

ได ซะดัม – มือขวา

พล็วดได – ต้นแขน

ตระซัย – เส้น,เอ็น

ปั๊วะ – ท้อง,หน้าท้อง

ประเจิ๊ด – สะดือ

ปร๊วงประเจิด – รูสะดือ

จังแก๊ะ – เอว

ตะโปก – ก้น

ตะเปือล ตะโปก – บั้นท้าย

ปร๊วงตะโปก – รูทวารหนัก

กระดอ – อวัยวะเพศชาย

กระนูย – อวัยวะเพศหญิง

มะเม๊ กระดอ,มะเม็ กระนูย – ขนเพชร

ปวงกระดอ – ลูกอันฑะ

ตังเกียมเจิง – ง่ามขา

พโลว – ต้นขา

จังกวง – เข่า

กะบาลจังกวง – หัวเข่า

พล๊วดเจิง – น่อง

กอเจิง – ข้อเท้า

ซมอเจิง – หน้าแข้ง

พะเนกโก – ตาตุ่ม

คะนองเจิง – หลังเท้า

บาดเจิง – ฝ่าเท้า

มะเรียมเจิง – นิ้วเท้า

กระจ๊อ เจิง – เล็บเท้า

จังกอย – ส้นเท้า

เจิงชเวง – ขาซ้าย,เท้าซ้าย

เจิง ซะดัม – ขาขวา,เท้าขวา

สรรพนามที่ใช้เรียกบุคคล

แม – แม่

เออว – พ่อ

โกน – ลูก

แย็ย – ยาย,ย่า

ตา – ตา,ปู่

ปู – น้าผู้ชาย,อาผู้ชาย

ไป – น้าผู้หญิง,อาผู้หญิง

อม – ลุง,ป้า

อมเปราะ – ลุง

อมซแร็ย – ป้า

เจา – หลาน,เหลน,โหลน

กะมูย – หลาน( ลูกของพี่,ลูกของน้อง)

นาย – หนู ( ใช้กับผู้ชาย )

เนียง – หนู ( ใช้กับผู้หญิง )

อานาย – ไอ้หนู ( ใช้เรียกเด็กผู้ชาย )

อางา – ไอ้หนู (ใช้เรียกเด็กผู้ชาย)

มีเนียง – อีหนู (ใช้เรียกเด็กผู้หญิง)

มีงา – อีหนู (ใช้เรียกเด็กผู้หญิง )

อาหล้า – บักหล้า

โกนงา – เด็กทารกแรกเกิด

สรรพนามที่ใช้แทนบุคคล

ขะมาด – กระผม

มาด – ผม,ฉัน

ขะยม – ดิฉัน

ยม – ฉัน

อัยจ – กู

อัยจแอง – กูเอง

ฮอง – เธอ ( ใช้กับ ผู้หญิง )

แอง,ฮองแอง – เอ็ง ( ใช้กับผู้หญิง )

แอง,อาแอง – เอ็ง ( ใช้กับผู้ชาย )

เกือจ – คุณ,ท่าน

เตียน – ท่าน ( คำสุภาพ ที่ใช้เรียก ผู้อาวุโส )

เวีย – เขา

โพง – พวก

โพงเยิง – พวกเรา

โพงอัยจ – พวกกู

โพงฮอง – พวกเธอ ( ใช้กับผู้หญิง )

โพงอาแอง – พวกเอ็ง ( ใช้กับผู้ชาย )

โพงเวีย – พวกเขา,พวกเขาคนนั้น,พวกเขาเหล่านั้น

โพงเกือด – พวกคุณ

โพงกอร – พรรคพวก

คะเนีย – เพื่อน

โพงคะเนีย – เพื่อนฝูง

ลักษณะ

ละออ – สวย,หล่อ

บรอ – ขี้เหร่

ซอมรูป ซอมเรียง – สมส่วน

เทอจ – อ้วน

ซังกวม – ผม

กะปั๊วะ – สูง

เตียบ – ต่ำ,เตี้ย

กะมะ – พิการ ( การพิการของแขน หรือ ขา )

คเว็น – เป๋,ขาเป๋ ( อาการพิการของขา )

กะม็อด – ขาด,กุด ( อาการพิการของแขน หรือ ขา )

ควะ – ตาบอด ( อาการพิการของดวงตา )

ตึนล็อง – หูหนวก ( อาการพิการของหู )

จะกูด – เป็นบ้า ( อาการพิการทางประสาท )

แคลว – ตาเข,ตาเหล่ ( อาการพิการทางเส้นประสาทของดวงตา )

กืก – เป็นใบ้ ( อาการพิการ ทางเสียง คือ พูดไม่ได้ )

คะน็องกอง – ค่อม ( อาการพิการของหลัง คือ หลังค่อม )

แชบ – แหว่ง ( อาการพิการของปาก คือ ปากแหว่ง หรือโพรงจมูก )

ปั๊วะกอ – คอพอก ( อาการพิการของ ลำคอ )

กึงฮอด – คืออาการของผู้พิการของปากหรือโพรงจมูกที่เกิดจากปากแหว่งหรือจมูกแหว่ง

ทำให้เวลาพูด ออกเสียงไม่ค่อยชัด

กระบาลตัมเปก – หัวล้าน

กระบาลตะง็อล – หัวโล้น

เซาะซะเกอว – ผมหงอก

พฤติกรรมและอุปนิสัย

นิซัย – นิสัย

ซันดาน – สันดาน

ระแอง – ขยัน

กันจิล – ขี้เกียจ

กันจิลแผะ – เกียจคร้าน

มันบานรืง – ไม่เอาถ่าน

มันซะนม – แย่

มันเจีย – ไม่ดี

เจีย – ดี

จู – เลว

จูจะนับ – เลวมาก

เจียดจู – ชาติชั่ว

จูจิบหาย – โคตรชั่ว

ซะโลด – เรียบร้อย,สงบเสงี่ยม

จะเจ๊ะ – ดื้อ,ซน,เกเร

มึมึ๊ – ดื้อเงียบ

กันแชงแช๊ะ – กระแดะ

กำเปลด – แร่ด

กำเปิลเฮอะ – คือผู้หญิงที่มีกิริยาที่ไม่เรียบร้อย

ละเลียม – คือ อาการของเด็กทารก หรือ เด็กตัวเล็ก ๆ ที่อยู่ไม่นิ่ง คล้ายๆ ซุกซน แต่ไม่ได้

หมายความว่าดื้อ หรือ เกเร

โนวมันซะงีม – อยู่ไม่นิ่ง มีความหมาย เช่นเดียวกันกับ ละเลียม

ลู๊ยจ – ขโมย,ลัก

เลียะ – ซ่อน

โกง – ขี้โกง

กึงเฮาะ – โกหก

ตร๊อง – ซื่อสัตย์

มันตร๊อง – ไม่ซื่อ,คด,โกง

กันตรึ๊ – ขี้เหนียว

เจิดบอญ – ใจบุญ

มันแจะเก็บ มันแชะเล็ม – สุรุ่ยสุร่าย

แจะตุ๊ก จะด๊ะ – มัธยัสถ์

ละโมบ – โลภ

ซะมูม ซะมาม – ตะกละ


กิริยกรรม

รีบ – จัดเก็บ

เรอะ – เก็บ

เลิก – ยก

กัน – ถือ

ด๊ะ – วาง

เร้ก – หาบ

ลี – แบก

แซง – หาม

ปุน – กะแตง

โอ้ช – ลาก

เตียญ – ดึง

กันตร๊ะ – กระชาก

กันเชาะ – หยิบ หรือ การกระโดด เพื่อที่จะเอาของจากที่สูง

กัด – ตัด

ตอ – ต่อ

ประแมก – ร้าว

แบ๊ก – แตก

ประแมะ – บิ,แยก

ปุ่ – ผ่า

กาบ – ฟัน

อัร – หั่น,เลื่อย

กันจรัม – สับ

เจ็ด – ฝาน

ปาด – ปาด

ฮัน – ซอย

จัง – ถาก

จะ – แทง

ด็อช – เสียบ

แว็ย – ตี

ด็อม – ทุบ


ลักษณะของสิ่งของ

กร๊ะ – หนา

ซะเดิง – บาง

เวง – ยาว

แกล็ย – สั้น

ทม – ใหญ่

ตู้ยจ – เล็ก


ระยะ

ชงาย – ไกล

บีด – ใกล้

อีแน่ะ – ที่นี่

อีเนาะ – ที่นั่น

ฮู้ยอีเนาะ – ที่โน่น

ซัมแน่ะ – แค่นี้

ซัมเนาะ – แค่นั้น

ปันแน่ะ – เท่านี้

ปันเนาะ – เท่านั้น

ปันนา – เท่าไร

ปรัมมาน – ประมาณ

ซัมนา – แค่ไหน

แตร่ะ – ตรงนี้

เตราะ – ตรงนั้น

บ็อญ – ที่

บ็อญเตราะ – ที่ตรงนั้น

บ็อญแตระ – ที่ตรงนี้

เตราะ – นั้น

แตระ – นี้

นู่ – นั่น

นิ่ – นี่



ปริมาณ

จะเรอน – มาก

กัมเปะ – มากมาย

แตจ – น้อย

ตู้ยจ – เล็ก

อัญแตจ อัญตู้ยจ – เล็กๆน้อยๆ

เอาะ – ไม่เหลือ

ม๊อจ – หมด

มันเมียน – ไม่มี

มาตราส่วน

มาจังอ็อล ได – หนึ่งนิ้ว

มาจังอาม – หนึ่งคืบ

มาซอก – หนึ่งศอก

มาฮัด – หนึ่งวา

มาเพียม – หนึ่งเมตร

อัตราส่วน

เป็ญจ – เต็ม

กันละ – ครึ่ง

กะนาล – กลาง

เปี๊ยะกะนาล – ปานกลาง


กิริยาของ ของเหลว


ฮีร – ล้น

ลิก – ท่วม

เล็จ – รั่ว


กิริยาของ สิ่งของ


บ๊ะ – หัก

แบจ – แตก

สัมปีจ – บุบ

ระเยี๊ยะ – ฉีกขาด

แฮจ – ฉีก

ประมะ – บิ่น

กันจ๊ะ – เก่า

ทะแม็ย – ใหม่

ทะแม็ยซล้าง – ใหม่เอี่ยม